Our Story

รู้จักกับเรา ภาควิชาเภสัชวิทยา แพทย์ จุฬาฯ

"เภสัชวิทยา แพทย์จุฬาฯ เป็นต้นแบบทางเภสัชวิทยาด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการที่ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ"

ประวัติความเป็นมาของภาควิชา


.... เมื่อเริ่มก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในปี พ.ศ. 2489 และได้เปิดภาคเรียนครั้งแรก ในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2490 นั้น ยังไม่มีฝ่ายเภสัชวิทยา แต่แผนกเภสัชวิทยาตลอดจนแผนกชีวเคมีรวมอยู่กับแผนกสรีรวิทยาซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับคณะแพทยศาสตร์ มีสถานที่ทำงาน ห้องบรรยาย และห้องปฏิบัติการอยู่ที่อาคารคณะแพทยศาสตร์เก่า ซึ่งรื้อและสร้างใหม่เป็นอาคารอานันทมหิดลในปัจจุบันนี้

พ.ศ. 2508 ได้มีพระราชกฤษฎีกา แยกแผนกชีวเคมีและแผนกเภสัชวิทยาออกจากแผนกสรีรวิทยา แผนกเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้เริ่มก่อตั้งขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2508 โดยมีศาสตราจารย์นายแพทย์ตระกูล กิติสิน ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกคนแรก ตั้งแต่ พ.ศ. 2508 – 2519

ในปี พ.ศ. 2510 ได้มีพระราชกฤษฎีกาโอนคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แผนกเภสัชวิทยาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา ฝ่ายเภสัชวิทยาได้ย้ายสถานที่ทำงานมาอยู่ที่อาคารแพทยพัฒน์ (อาคารเรียนรวมพรีคลินิก) โดยสำนักงานและห้องพักคณาจารย์ ตั้งอยู่ ณ ชั้น 10 ของอาคารแพทยพัฒน์ และคณะได้จัดสรรห้องปฏิบัติการวิจัยของฝ่ายเภสัชวิทยาไว้ที่ชั้น 9 ของอาคารแพทยพัฒน์จำนวน 6 ห้อง

ฝ่ายเภสัชวิทยารับผิดชอบงานสอนวิชาเภสัชวิทยาให้แก่นิสิตแพทย์ในระดับปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต โดยมีโรงพยาบาล/สถาบันสมทบ 4 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลพระปกเกล้า (จันทบุรี) โรงพยาบาลชลบุรี และโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช (กรมแพทย์ทหารอากาศ)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 คณะแพทยศาสตร์ได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การแพทย์) โดยมีภาควิชาทางพรีคลินิกและภาควิชาทางคลินิกร่วมกันดำเนินการบริหารหลักสูตรและรับผิดชอบจัดการเรียนการสอน อันประกอบด้วย ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ภาควิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาชีวเคมี ภาควิชาพยาธิวิทยา ภาควิชาเภสัชวิทยา ภาควิชาปรสิตวิทยา ภาควิชาสรีรวิทยา และภาควิชาอายุรศาสตร์ ฝ่ายฯ จึงมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การแพทย์) มาจนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2531 ฝ่ายเภสัชวิทยาในคณะต่าง ๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ ได้ร่วมกันเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สหสาขาเภสัชวิทยา) เพื่อใช้ทรัพยากรทุกด้านที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยศูนย์กลางของการจัดการเรียนการสอนและการประสานงานอยู่ที่ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มาตั้งแต่เริ่มเปิดรับนิสิตในปี พ.ศ. 2531 จนถึงปัจจุบัน ต่อมาได้ดำเนินการเปิดหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต (วท.ด.) เภสัชวิทยา (สหสาขาวิชา) และรับนิสิตเข้าศึกษาในปีการศึกษา 2544 เป็นปีแรก ....

Timeline หมุดเวลาการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ


เจตจำนง

เภสัชวิทยา แพทย์จุฬาฯ เป็นต้นแบบทางเภสัชวิทยาด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการที่ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ

ภาระหน้าที่

ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และฝ่ายเภสัชวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
มีพันธกิจดังต่อไปนี้

ค่านิยม


ความสามารถพิเศษ (core competency) ของภาควิชา

การให้บริการของฝ่ายเภสัชวิทยา

ฝ่ายเภสัชวิทยาให้บริการตรวจวัดทางเภสัชพันธุศาสตร์และการตรวจวัดระดับยาในเลือดโดยผ่านศูนย์ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


วันเวลาสถานที่ให้บริการ

เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. 

ณ อาคารแพทยพัฒน์ ชั้น 9 ห้อง 927 และ 928